ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กรมกิจการผู้สูงอายุขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุ 4 มิติ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสภาพแวดล้อม และบริการสาธารณะ









ที่มา : เว็บไซต์เดลินิวส์
รับมือไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ thaihealth

กรมกิจการผู้สูงอายุขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุ 4 มิติ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสภาพแวดล้อม และบริการสาธารณะ


      นายสมคิด สมศรี อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวง พม. มีความเป็นห่วงที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลง และความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุ มีอายุยืนยาวขึ้น และแนวโน้มของโครงสร้างประชากรวัยสูงอายุในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีจำนวนและสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ในปี 2548 จากร้อยละ 10.3 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.8 ในปี 2553 และในปี 2559 มีผู้สูงอายุในประเทศไทย 10,783,380 คน คิดเป็นร้อยละ 16.5 โดยคาดว่าในปี 2564 จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีก 20 % และในอีก 10 ปีข้างหน้า ปี 2574 อัตราผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 27 % และในปี 2579 ประเทศไทยเราจะมีผู้สูงอายุสูงถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี 2583 องค์การสหประชาชาติ (UN) ประเมินไว้ไทยเราจะมีประชากรผู้สูงอายุสูงที่สุดในอาเซียนถึง 33 %
อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวว่า ต่อไปสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ กลุ่มผู้สูงอายุ จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มติดสังคม มีสุขภาพดี และสามารถอยู่ตามลำพังได้ มีจำนวน 7,961,690 คน คิดเป็นร้อยละ 79.5 กลุ่มติดบ้าน ต้องการผู้ช่วยเหลือ ดูแลในชีวิตประจำวัน มีจำนวน 1,902,795 คน คิดเป็นร้อยละ 19 และ กลุ่มติดเตียง ต้องการการดูแลระยะยาวด้านการแพทย์ รักษาพยาบาล และสวัสดิการสังคม มีจำนวน 150,220 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการดูแลผู้สูงอายุใน 4 มิติ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจสังคมสุขภาพ และสภาพแวดล้อม และบริการสาธารณะ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการดูแลผู้สูงอายุใน 4 มิติ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสภาพแวดล้อม และบริการสาธารณะ 1.ด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุจะต้องมีสุขภาพที่ดี ทั้งกาย จิต และปัญญา ทำให้ผู้สูงอายุเกิดสมดุลชีวิต 2. ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุจะต้องทำงาน เพื่อตนเอง ให้เกิดมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความสุขใจ มีเศรษฐกิจที่ดี และมีเกียรติยศ จากการยอมรับจากผู้อื่น รวมถึงทำงานเพื่อสังคมตามอัตภาพที่พอดีและเหมาะสม มุ่งเน้น 2 ประเด็น คือ การสร้างหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุและประชากรทั่วไป สร้างกลไกการออม ขยายโอกาสการทำงานสำหรับผู้สูงอายุทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนให้มีการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเตรียมความพร้อมแรงงานรุ่นใหม่ การพัฒนาคุณภาพแรงงาน
รับมือไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ thaihealth1.ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุต้องการมีงานทำ เพื่อตนเอง ให้เกิดมีรายได้ จากตัวเลขความต้องการผู้สูงอายุ 34.6 % ยังต้องการมีงานทำ มุ่งเน้น 2 ประเด็น คือ การสร้างหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุและประชากรทั่วไป สร้างกลไกการออม ขยายโอกาสการทำงานสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนให้มีการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเตรียมความพร้อมแรงงานรุ่นใหม่ การพัฒนาคุณภาพแรงงาน
2.ด้านสังคม ผู้สูงอายุต้องอยู่ในสังคมอย่างมีความมั่นคง โดยมีการรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรม ไม่อยู่โดดเดี่ยวอันเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วย และเศร้าซึม ได้รับการยอมรับจากสังคมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ผู้สูงอายุต้องได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิที่พึงได้จากกฎหมายและต้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน ในการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ
3.ด้านสุขภาพ สุขภาพที่ดี ทั้งกาย จิต และปัญญา ทำให้ผู้สูงอายุเกิดสมดุลชีวิต
4. ด้านสิ่งแวดล้อมและบริการสาธารณะ เป็นอีกปัจจัย ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนที่น่าอยู่ โดยซ่อม/สร้างบ้านให้ผู้สูงอายุ และเมื่อมีสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมดีแล้ว สามารถไปเยี่ยมให้กำลังใจผู้ติดเตียงที่บ้านได้ตลอดจนการบริการสาธารณะที่จะทำเป็นตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
จากสถานการณ์ดังกล่าว กรมกิจการผู้สูงอายุจึงได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการบูรณาการร่วมกันในภาพรวมของหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อน และให้เป็นหน่วยงานหนุนเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 12 แห่ง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ 879 แห่ง พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร 50 แห่ง และพื้นที่บูรณาการ สสส. สปสช. 1,752 ถึง 3,000 แห่ง จนครบ 8,000 แห่ง ใน 5 ปี ใช้เงินกองทุนในการขับเคลื่อนจากกองทุนผู้สูงอายุ กองทุน สสส. และกองทุน สปสช. มีกลไกขับเคลื่อนจากคณะทำงานขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุในระดับจังหวัด ชมรมผู้สูงอายุ 25,848 ชมรม และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ 80,000 คน โดยมีกรอบความร่วมมือภาพรวมหน่วยงานในการสนับสนุนการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุจะตอบโจทย์ 4 มิติดังกล่าว
การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ การปฏิบัติงาน และทรัพยากรในระดับพื้นที่ร่วมกันให้ครอบคลุมตามมิติข้างต้น รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาเครือข่ายและสถาบันที่พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ด้วย โดยจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในวันที่ 21 พ.ย. 2559 ณ ห้องประชุมชั้น 2 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยมี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นประธาน เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุต่อไป

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ความคิดเห็น

  1. ผม ดร.สมัย เหมมั่น ผมใส่ใจกับ ผู้สูงอายุที่ปวยเป็น โรคร้ายในวัยสูงอายุ และเราควรหาวิธีการแก้ไขและช่วยเหลือเค้า
    nationu.blogspot.com
    ผม ดร.สมัย เหมมั่น ผมใส่ใจกับ ผู้สูงอายุที่ปวยเป็น โรคร้ายในวัยสูงอายุ และเราควรหาวิธีการแก้ไขและช่วยเหลือเค้า โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่พบบ่อยมีความคิด

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น