อโรคยาศาล ในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แนวคิด การก่อสร้าง โครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ เพื่อคนไทยทุกคน โครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ประชารัฐ ภาคเอกชน โดย ดร.สมัย เหมมั่น

บทคัดย่อ อโรคยาศาล ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเมืองพระ นครหลวง อาณาจักรขอมโบราณ มูลเหตุในการสร้างเพื่อใช้เป็นโรงพยาบาล ประจําชุมชน พบจํานวน 30 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันร่องรอยของอโรคยาศาลที่พบน้ันเหลือเพียงส่วนศาสนสถานประจํา อโรคยาศาลที่มีรูปแบบองค์ประกอบของผังการสร้างที่แน่นอนตายตัว รูปแบบ สถาปัตยกรรมสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และการขอพรจากเทพเจ้าในพุทธศาสนาแบบมหายานช่วงพุทธศตวรรษท่ี 18 ได้อย่างชัดเจน ตัวศาสนสถานประจําอโรคยาศาลสร้างขึ้นด้วยวัสดุที่คงทน ถาวร คือหินทรายและศิลาแลง แต่ในส่วนโรงเรือนการรักษาพยาบาล สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นด้วยโครงสร้างไม้ในปัจจุบันจึงไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็น บทความน้ีนําเสนอถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นท่ีภายในของ โบราณสถานศาสนสถานประจําอโรคยาศาล สามารถแบ่งการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ของพื้นท่ีได้เป็น 3 ช่วงเวลาคือ การใช้พ้ืนท่ีในอดีต พบว่ามี การเปลี่ยนแปลงการใช้ พ ื ้ นท ี่ศาสนสถานประจําอโรคยาศาล ในพื ้ นท ี่ภาคตะว ั นออกเฉ ี ยงเหน ื อ 1 The Change of Chapel of Arogayasala’s Usage Patterns : A Case Study of Northeastern Thailand วิโรจน์ชีวาสุขถาวร 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Wiroj Shewasukthaworn Assistant Professor, Faculty of Architecture Urban Design and Creative Art, Mahasarakham อรศิริปาณินท์ 3 ศาสตราจารย์เกียรติคุณประจาหล ํ ักสูตรปริญญาเอกส่ิงแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Ornsiri Panin. Ameritus Professor in Ph.D. (Built Environment) Curriculum, Faculty of Architecture, Kasetsart University. คําสําคัญ : การเปลี่ยนแปลง ; การใช้ พื้นที่ ; อโรคยาศาล ; พิธีสรงกู่ Keywords : Change ; usage patterns ; Arogayasals ; Srung-Ku ceremony. ภาพตรงข้าม : กุฏิหนองบัวลาย จ.บุรีรัมย์ หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 47 48 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 การใช้พื้นท่ีอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นพื้นท่ีด้านความเชื่อ คือส่วนศาสนสถาน ประจําอโรคยาศาล ใช้เป็นพื้นที่สักการบูชาต่อเทพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ รักษาพยาบาล ส่วนที่ 2 คือส่วนรักษาพยาบาล เป็นส่วนท่ีมีการใช้พื้นท่ีด้าน นอกตัวศาสนสถาน ส่วนใหญ่มักต้ังอยู่ในพื้นที่ด้านทิศเหนือ โดยขอบเขตของ การรักษาพยาบาลจะครอบคลุมไปถึงพื้นที่ชุมชนโดยรอบในระยะท่ีสามารถ เดินทางมาถึงได้โดยสะดวก การใช้พื้นท่ีในช่วงคาบเกี่ยวที่เป็นจุดเปลี่ยนของการเปลี่ยนแปลงการ ใช้พ้ืนที่ในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 21-24 พบว่า มีการตั้งถิ่นฐานใหม่ของกลุ่มชน ใหม่ที่อพยพเคลื่อนย้ายมา กลุ่มคนดังกล่าวยังมีความศรัทธาต่อศาสนสถาน เดิมที่มีมาก่อนกับบทบาทความเชื่อท่ีเปลี่ยนไป บางแห่งถูกปรับเปลี่ยนให้เป็น พุทธสถานในคติเถรวาทแทน มีการสร้างวัดหรือสํานักสงฆ์ขึ้นทับซ้อนในพื้นที่ สร้างพระพุทธรูปใหม่ประดิษฐานไว้ภายใน เชื่อว่าพื้นท่ีนี้เป็นพื้นที่ศักด์ิสิทธิ์ เป็นที่ส่ิงสถิตของผีปู่ตาหรือเทวดา จึงไม่มีผู้ใดกล้าเข้าไปใช้พื้นที่เป็นการ ส่วนตัว สําหรับการใช้พื้นที่ในช่วงเวลาปัจจุบัน มีการประกอบพิธีกรรม ภายในศาสนสถานประจําอโรคยาศาลในช่วงวันสําคัญ เช่น การสรงกู่ ซึ่งจัด ขึ้นเป็นประจําทุกปีโดยรูปแบบและความหลากหลายของกิจกรรมจะแปรผัน ไปตามขนาดของชุมชนและผู้จัดงาน โดยท่ัวไปประเพณีสรงกู่จะถูกกําหนดขึ้น ในช่วงเวลาที่เก่ียวข้องกับงานบุญสิบสองเดือน โดยถือเอาวันขึ้น 15 ค่ํา เดือน 5 ของทุกปีตามปฏิทินทางจันทรคติเป็นวันที่ใช้ประกอบพิธีกรรม Abstract Arogayasalas were built by Jayavarman VII, King of Khmer empire, around 19th Buddhist century. The objective of Arogayasala was to provide space for medical treatment for the community. Around 30 Arogayasalas were discovered in the northeastern region of Thailand. At present, evidence of Arogayasala is only its Chapel with standard elements. Its design represents medical treatment beliefs and religious worship concepts. Chapel of Arogayasala was built by laterite and sandstone. It is presumed that the medical treatment building was wood pavilion construction therefore its evidence is unidentified. This paper presents the change of Chapel of Arogayasala’s usage patterns by classify the analysis into three sessions. The first session is the usage pattern in the part period. It was found that there were two main areas. The first area was religious area, หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 49 Chapel of Arogayasala, which had many holy images on the sides. The second area was medical treatment area which was located on the north, outside the enclosure wall. The scope of medical treatment was extended to the surrounding community within a walking distance. The second session is the usage pattern in the overlapping period around 21st -24th Buddhist century. It was found that there was a new settlement in this area. The new ethnic still had faith in original monastery. The usage patterns of the Chapel of Arogayasals had been changed to Theravada Buddhism monastery. The new temples were built in this area. The new Buddha images were placed inside. People believed that this sacred area was the living place of the ancestral spirits or local gods. Therefore, no one occupied the place of worship for personal usage. The final session is the usage pattern in the present time. Chapel of Arogayasalas has monument. It has been used for special activities, such as, Srung-Ku ceremony and Worship ceremony, which have been held every year. The number of activities and its format are varied based on to the size of the community and host of the event .The activities is usually held annually on the Waxing (full moon) 15 evening of the 5th month according to the Thai lunar calendar. ความสําคัญของอโรคยาศาล อโรคยาศาลถูกสถาปนาขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพ่ือให้เป็น โรงพยาบาลประจําชุมชน ข้อความจากจารึกปราสาทตาพรหมที่เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชาพบว่า มีการสร้างอโรคยาศาลขึ้นโดยรอบราชอาณาจักรของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ท้ังสิ้นเป็นจํานวน 102 แห่ง 4 ปัจจุบันต้ังกระจายอยู่ตาม พื้นท่ีต่างๆ ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และบางส่วนของ พื้นท่ีประเทศกัมพูชา สามารถวิเคราะห์ข้อสันนิษฐานวัตถุประสงค์ของการสร้างอโรคยาศาล ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ท่ี 1 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์ทรงกําลังบาเพ ํ ็ญ โพธิสัตว์บารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ในโลกให้พ้นทุกข์ตามคติความเชื่อของ 50 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 พุทธศาสนามหายาน หรือเชื่อว่าพระองค์ประชวรเป็นโรคเร้ือน เหตุผลท่ี พระองค์ทรงสถาปนาอโรคยาศาลทั่วราชอาณาจักรอาจเป็นเพราะพระองค์ ทรงมุ่งหวังว่าการบําเพ็ญพระกุศลในครั้งนี้จะช่วยให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 5 ทั้ง 2 มูลเหตุอาจมีการตีความที่แตกต่างกัน แต่การสถาปนาอโรคยาศาลของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ถือเป็นนโยบายท่ีสําคัญในรัชสมัยของพระองค์เป็นการ กระจายหลักประกันสุขภาพไปสู่ประชาชน ถือเป็นการถวายทานครั้งยิ่งใหญ่ ที่เป็นกุศโลบายไปพร้อมกับการเผยแพร่พุทธศาสนาที่สําคัญ รวมถึงเป็นการ สร้างความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักร ในจารึกกุฏิฤาษีเมืองพิมาย ได้บรรยาย ความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การสถาปนาอโรคยาศาลไว้ว่า “โรคที่เกิดขึ้นกับ ประชาชนก็เหมือนเกิดขึ้นแก่องค์พระราชา ในฐานะเป็นเจ้าเมือง ฉะนั้น หลังจากปราบกลียุคแล้วพระองค์จึงได้รวบรวมแพทย์หลวงจัดสร้างสถาน พยาบาลเพ่ือขจัดโรคของประชาชน” วัตถุประสงค์ท่ี 2 การสร้างศาสนสถานเพ่ือประดิษฐานรูปพระ โพธิสัตว์ไภษัชยสุคต หรือเป็นวิหารสําหรับพระเจ้า เปรียบเสมือนสถานที่ รักษาทางจิตใจเพื่อให้ผู้คนเข้ามาขอพร ถือเป็นการเผยแพร่ศาสนาพุทธแบบ มหายานท่ีพระองค์ทรงศรัทธาไปท่ัวพระราชอาณาจักร ถือเป็นการเปลี่ยน แปลงความเชื่อดั้งเดิมที่มีอยู่ที่แต่เดิมน้ันพระมหากษัตริย์ในเมืองพระนคร และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาหลัก พบจารึกที่มี การกล่าวถึงอโรคยาศาลกว่า 10 หลักท่ีปรากฏข้อความใกล้เคียงกัน ที่บ่งชี้ถึง ลักษณะรูปเคารพภายในศาสนสถานประจําอโรคยาศาลของพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ว่า “พระองค์ทรงได้สร้างโรงพยาบาลและรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยรูปพระชิโนรสทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชน ตลอดไป พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลนี้และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยวิหารของพระคุรุ” 6 รูปเคารพดังกล่าวถูกขุดพบในระหว่างการ บูรณะอโรคยาศาลเป็นจํานวนมาก โดยรูปเคารพท่ีพบในแต่ละแห่งจะมี รูปแบบและประติมานวิทยาที่ใกล้เคียงกัน เป็นรูปแบบศิลปะสมัยบายน สันนิษฐานได้ว่าการสร้างรูปเคารพดังกล่าวนั้นคงมีพิธีการสร้างอยู่ในเมือง พระนคร เมื่อสร้างเสร็จพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็โปรดพระราชทานไปประดิษฐาน ที่ศาสนสถานประจําอโรคยาศาลตามที่ต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร ซ้าย : พระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา และพระ ชิโนรสทั้งสอง องค์จําลอง ที่ปราสาทพลสงคราม จังหวัดนครราชสีมา ที่มา : ทนงศักดิ์ หาญวงศ์ ขวา : พระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาและพระ ชิโนรสทั้งสองสําริด พบที่ ปราสาทบันทายฉมาร์ ประเทศกัมพูชา ที่มา : Peter D. Sharrock et al, Banteay Chhmar, Twin hub of the Khmer Empire (Bangkok : River Books Co., Ltd., 2015). พระสุริยะไวโรจนะ? พบ ระหว่างขุดแต่งปราสาท ช่างปี่ จังหวัดสุรินทร์ใน พ.ศ. 2554 ที่มา : ห้างหุ้นส่วนจํากัด ปุราณรักษ์ หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 51 ในส่วนของรูปแบบศาสนสถานประจําอโรคยาศาลนั้น ท่ีปรากฏให้ เห็นอยู่ในปัจจุบันจะมีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนในส่วน รายละเอียดองค์ประกอบบางอย่างในแต่ละแห่งเล็กน้อย ตามลักษณะการใช้ งานในแต่ละพ้ืนที่ รวมถึงขนาดของศาสนสถานประจําโรงพยาบาล และ โรงเรือนท่ีรักษาจะมีขนาดที่แตกต่างกัน โดยจะสัมพันธ์กับขนาดของพื้นที่ ชุมชนที่ให้บริการ ในส่วนรูปแบบมาตรฐานของศาสนสถานประจําอโรคยาศาล จะประกอบไปด้วย ปราสาทประธานหน่ึงหลังตั้งอยู่กลางพ้ืนท่ี บรรณาลัย ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน อาคารทั้งสองจะ ถูกล้อมรอบด้วยกําแพงแก้ว มีทางเข้าออกหรือโคปุระด้านทิศตะวันออกเพียง แห่งเดียว ภายนอกทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมีสระน้ําประจําศาสนสถานขนาดเล็ก 7 ส่วนโรงเรือนรักษาพยาบาลที่ปรากฏในจารึก เช่น เรือน นอน บ้านพักเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล เรือนปรุงและเรือนเก็บยา จากการ ขุดแต่งพ้ืนท่ีบริเวณกู่สันตรัตน์พบว่า พื้นที่ด้านทิศเหนือนอกแนวกําแพงแก้ว จะพบฐานหลุมเสา สันนิษฐานว่าเป็นฐานของกลุ่มอาคารเคร่ืองไม้ของอาคาร รักษาพยาบาล 8 อโรคยาศาลจึงถือเป็นหน่ึงในกลุ่มปราสาทชุมชนในสายวัฒนธรรม ขอมที่สําคัญ เปรียบเสมือนการรวมพื้นท่ีที่ใช้รักษาผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและ จิตใจควบคู่กันไป เป็นการรักษาโรคแบบแผนโบราณผสมผสานความสัมพันธ์ ของความเชื่อต่อการเคารพพระพุทธเจ้า แม้ว่าตัวอาคารท่ีปรากฏให้เห็นจะมี ขนาดเล็ก แต่จากรูปแบบที่เป็นมาตรฐานและรูปเคารพประดิษฐานภายใน ที่สอดคล้องกับแนวความคิดในการสร้างเพื่อใช้บําบัดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ ประชาชน จึงทาให ํ ้พื้นท่ีดังกล่าวเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี 9 พระสุริยะไวโรจนะ? พบที่กู่บ้านเขวา จังหวัด มหาสารคาม ผังของศาสนสถานประจํา อโรคยาศาล 52 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนสถานประจําอโรคยาศาลกับการใช้ พื้นที่ในอดีต (พุทธศตวรรษที่ 18-20) ถือเป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองท่ีสุดของอโรคยาศาล ช่วงเวลานี้เริ่มจากการ สถาปนาอโรคยาศาลท่ีสนองพระราชดําริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ส่งเสริม นโยบายการประกันสุขภาพกับการเผยแพร่ศาสนาพุทธแบบมหายานไปทั่ว พระราชอาณาจักรของพระองค์ จนถึงช่วงเวลาหลังรัชสมัยของพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ที่อโรคยศาลเริ่มขาดการดูแลและ สนับสนุนจากภาครัฐคือเมืองพระนคร จากการสํารวจภาคสนามอโรคยาศาล จํานวน 12 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทําให้สามารถวิเคราะห์รูปแบบ การตั้งของอโรคยาศาลได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย พัฒนามาสู่ช่วงสมัยทวารวดีจน ได้รับวัฒนธรรมขอมเข้ามาในพ้ืนท่ีช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ชุมชนโบราณในลักษณะน้ีจะมีขนาดของชุมชนขนาดกลางไปจนถึง ขนาดใหญ่ มีการตั้งถิ่นฐานมายาวนานต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์พบโครง กระดูกโบราณที่แสดงถึงการอยู่อาศัยในพื้นที่นี้มาเป็นระยะเวลายาวนาน เริ่มแรกจะมีการนับถือศาสนาพุทธเถรวาท บางพื้นที่พบซากสถูปโบราณเป็น จํานวนมาก เช่น ที่นครจําปาศรีตั้งอยู่ใกล้กับกู่สันตรัตน์จ.มหาสารคาม พบ ซากโบราณสถานที่เป็นสถูปเจดีย์โบราณเป็นจํานวนมาก ต่อมาเมื่อวัฒนธรรม ขอมเข้ามาจึงเริ่มรับวัฒนธรรมพราหมณ์ฮินดูเข้ามาผสมผสานกับการนับถือ พุทธศาสนา พบว่าบางพ้ืนที่จะมีการสร้างเทวาลัยขึ้นภายในเมือง ชุมชนมีลักษณะแผนผังการตั้งเมืองเป็นรูปวงกลมหรือรูปวงรีสัณฐาน ของเมืองท่ียังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันในหลายพื้นท่ีมีการขุดคูน้ํารอบ เมืองเพ่ือใช้ในการเกษตรกรรมภายในชุมชน พบว่าการตั้งถิ่นฐานเริ่มต้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ดอน เมื่อชุมชนเร่ิมขยายตัวในช่วงเวลาต่อมาจึงมีการ กระจายการตั้งถิ่นฐานออกมาโดยรอบ บางพ้ืนที่มีการขุดคูนาล้ํ ้อมรอบเพ่ิมเติม จากของเดิมที่มีอยู่เดิม ชุมชนลักษณะนี้จึงเหมาะต่อการสร้างอโรคยาศาลเป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นชุมชนใหญ่ที่มีการตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนาน มีประชากร ในเมืองเป็นจํานวนมาก จึงมีความจําเป็นต่อการรักษาพยาบาล หากวิเคราะห์ ความสําคัญนัยยะทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันท่ี 7 ชุมชนใหญ่ดังกล่าว เป็นพื้นท่ีที่มีความสําคัญทางยุทธศาสตร์หากได้รับประโยชน์จากนโยบายของ ส่วนกลางแล้วก็จะทําให้เกิดการสร้างความเป็นเป็นปึกแผ่นของอาณาจักรของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้อย่างมั่นคงขึ้น หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 53 2. ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณที่เริ่มมีการตั้งถ่ินฐานขึ้นในช่วง วัฒนธรรมขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 พบว่าชุนชนในลักษณะนี้จะมีขนาดของชุมชนทั้งขนาดกลางไปจนถึง ขนาดใหญ่ มีประชากรเป็นจํานวนมาก มีการสร้างปราสาทหรือเทวาลัยใน เขตพื้นท่ีเมือง บางพื้นท่ีมีการสร้างมากกว่าหนึ่งหลัง ขนาดและรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมของเทวาลัยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามความนิยมของ ยุคสมัยที่สร้าง บางพื้นท่ีมีรูปแบบการสร้างที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากช่างหลวง จากเมืองพระนครโดยตรง แสดงให้เห็นถึงความสําคัญของเมืองนั้นๆ แต่บาง พื้นท่ีมีรูปแบบศิลปะพื้นถิ่นเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมช่างหลวงซึ่งอาจเป็น เมืองบริวาร แรกเริ่มประชาชนจะนับถือศาสนพราหมณ์ฮินดูที่ได้รับการ เผยแพร่มาจากเมืองพระนครทั้งโดยตรงและโดยอ้อม พบว่ามีบางแห่งมีการ สร้างรูปเคารพทางศาสนาพราหมณ์เป็นจํานวนมาก เช่น พื้นที่ชุมชนโบราณ เมืองต่ํา จ.บุรีรัมย์และชุมชนเมืองพิมาย จ.นครราชสีมา เป็นต้น นอกจาก ความเชื่อด้านศาสนาแล้วยังมีการระบบชลประทานที่สําคัญของเมืองเพ่ือ หล่อเลี้ยงประชากรในเมือง มีการขุดสระนาหร ้ํ ือบารายขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บ น้ําไว้ใช้ในฤดูแล้งหรือเพ่ือใช้ในการเกษตร พบว่ามีการศึกษาเรื่องการ ชลประทานอย่างเป็นระบบ ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อมีนโยบายการสถาปนาอโรคยาศาลทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขึ้น การสร้างอโรคยาศาล ในพื้นที่ดังกล่าวจึงมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรม ความเชื่อที่ใกล้เคียงและมีความสัมพันธ์ทางด้านการปกครองกับเมืองพระนคร อย่างใกล้ชิด การสร้างอโรคยาศาลตามชุมชนในลักษณะน้ีมักจะปรากฏว่า จะสร้างกระจายกันไปตามพ้ืนที่ต่างๆ ในระยะทางที่สามารถสัญจรได้สะดวก เพื่อที่จะทําให้สามารถรองรับการรักษาของประชาชนได้กว้างขวางมากขึ้น ดังท่ีเมืองพระนครจะพบว่ามีการสร้างอโรคยาศาลขึ้นบริเวณมุมทั้งสี่ของแนว กําแพงเมืองที่เมืองพระนครหลวง เพ่ือรองรับการรักษาของประชากรที่อยู่ ภายในเมืองหลวง และบริเวณด้านทิศใต้นอกเมืองพระนครหลวง ห่างกําแพง เมืองประมาณ 1 กิโลเมตร ตรงเส้นทางสัญจรหลักที่เข้าสู่พระนครหลวง พบศาสนสถานประจําอโรคยาศาลอีกแห่งมีชื่อว่า ปราสาทตาพรหมเกล สร้าง ขึ้นเพื่อรองรับการรักษาของประชาชนในพื้นที่นครวัดและชุมชนโดยรอบเขา พนมบาแค็งที่เป็นราชธานีเดิมของอาณาจักรขอม ชุมชนในวัฒนธรรมขอมท่ีมีการวางผังที่เชื่อมโยงกับเมืองพระนคร หลวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยพบตัวอย่างที่ชัดเจนอีกแห่ง คือท่ีเมืองพิมาย พบว่ามีการสร้างอโรคยาศาลคือกุฏิฤาษีขึ้นบริเวณทิศใต้นอก เมืองพิมาย ห่างประตูเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร ตรงเส้นทางหลักที่เข้าสู่ เมืองพิมาย เพื่อรองรับการรักษาประชาชนที่มาจากชุมชนโดยรอบ จากการ วิเคราะห์กรณีศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ตําแหน่งที่ต้ังของอโรคยาศาลในกลุ่มนี้ 54 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 มักจะตั้งในพ้ืนที่ที่ใกล้กับชุมชน หรือใกล้กับเทวาลัยที่สําคัญของเมืองท่ีสร้าง มาก่อนหน้านี้พื้นท่ีตั้งจะต้องตั้งอยู่บริเวณทางสัญจรหลักท่ีสามารถเดินทาง จากชุมชนหรือพื้นท่ีโดยรอบได้โดยสะดวกเช่นกัน เช่น กุฏิฤาษีหนองบัวราย ที่ตั้งอยู่เชิงเขาพนมรุ้ง, กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง ที่ใกล้กับปราสาทเมืองต่ํา จ.บุรีรัมย์และกู่โพนระฆัง ที่ใกล้กับกู่กาสิงห์จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น 3. ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองชุมทาง จุดเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรหลัก ทั้งทางบกและทางนา้ํ ชุมชนในลักษณะนี้เป็นชุมชนที่มีความสําคัญ แม้ว่าขนาดของชุมชน จะไม่มีขนาดใหญ่มากนักเม่ือเทียบกับ 2 รูปแบบแรกที่ผ่านมา แต่เป็นจุด เชื่อมต่อที่สําคัญที่สามารถเดินทางไปสู่ชุมชนต่างๆ ได้โดยสะดวก ส่วนใหญ่ เป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจาย มีการรวมกลุ่มแบบหลวมๆ แต่ สามารถสัญจรไปมาหากันได้โดยสะดวก รูปแบบนี้บางพื้นที่จะเป็นชุมชน โบราณที่อยู่ร่วมสมัยตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ไปจนถึงสมัยพุทธศตวรรษท่ี 18 ที่มีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง เช่น พื้นท่ีปรางค์กู่ จ.ชัยภูมิ และปราสาทโคกงิ้ว จ.บุรีรัมย์แต่บางพื้นท่ีก็เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นในช่วง พุทธศตวรรษท่ี 15-18 เช่น ชุมชนกู่ประภาชัย จ.ขอนแก่น และกู่คันธนาม จ.ร้อยเอ็ด จะพบว่าตําแหน่งท่ีตั้งของอโรคยาศาลในกลุ่มน้ีมักจะต้ังบริเวณทาง สัญจร หรือชุมทางหลักท่ีเชื่อมต่อไปสู่เมืองใหญ่ สามารถเดินทางเชื่อมระหว่าง อโรคยาศาลในแต่ละแห่งได้โดยสะดวก พบว่าไม่ค่อยอิงกับพื้นท่ีชุมชนหลัก มากเท่าท่ีควร สาเหตุสันนิษฐานได้ว่ามาจากเพื่อการกระจายความเจริญ และ ประสิทธิภาพในรองรับการรักษาพยาบาลไปสู่ชุมชนต่างๆ ได้โดยทั่วถึงตาม ปณิธานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในส่วนการวิเคราะห์การใช้พื้นที่อโรคยาศาล สามารถแบ่งพื้นท่ีใช้ สอยได้เป็น 2 ส่วน คือส่วนพ้ืนที่ศาสนสถานประจําอโรคยาศาล พื้นที่นี้เป็น พื้นท่ีหลงเหลือให้เห็นมากที่สุดในปัจจุบัน ที่ประกอบไปด้วยปราสาทประธาน โคปุระ บรรณาลัย กําแพงแก้ว กับพื้นท่ีส่วนท่ี 2 คือพ้ืนที่ส่วนรักษาพยาบาล ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนสระนาศ้ํ ักดิ์สิทธิ์เท่านั้น โรงเรือนรับรองต่างๆ พื้นที่ ส่วนนี้ไม่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน พื้นท่ีส่วนศาสนสถานประจําอโรคยาศาลถือเป็นพื้นที่ที่มีความสําคัญ ที่สุดในอโรคยาศาล เป็นการสร้างถวายแด่เทพที่ประดิษฐานภายใน จึงสร้าง ด้วยวัสดุที่คงทนถาวร เช่น ศิลาแลงและหินทราย เป็นต้น จากการสํารวจพื้นที่ กรณีศึกษาท้ัง 12 แห่งที่ผ่านมาพบว่า ในแต่ละแห่งนั้นมีรูปแบบสถาปัตยกรรม เทคนิคการก่อสร้าง รวมถึงขนาดของตัวศาสนาสถานประจําอโรคยาศาลที่ ต่างกันเล็กน้อย ทั้งหมดยังคงลักษณะรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การ สร้างอโรคยาศาลบางแห่งสันนิษฐานว่าสร้างด้วยช่างจากเมืองพระนคร รูปแบบสถาปัตยกรรมก็จะมีลักษณะและลวดลายการแกะสลักที่สวยงามตาม หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 55 แบบฉบับช่างหลวง เช่น ที่ปรางค์กู่ จ.ชัยภูมิที่พบทับหลังศิลปะบายนรูปแบบ ใกล้เคียงกับที่ปราสาทพระขรรค์ในเมืองพระนคร และภาพแกะสลักบริเวณ หน้าบันปราสาทประธาน และอาคารบรรณาลัยที่เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวรและเรื่องราวพุทธประวัติมีเทคนิคการแกะสลักใกล้เคียงกับท่ี ปรากฏในอโรคยาศาลท่ีเมืองพระนครหลวง บางแห่งก็มีการสร้างผสมผสาน ไปกับลักษณะของท้องถิ่น แต่ยังคงรูปแบบมาตรฐานของศาสนสถานประจาํ อโรคยาศาลไว้อย่างครบถ้วน แม้จะไม่พบการแกะสลักลวดลายใดๆ ในตัว ปราสาทและอาคารประกอบเลยก็ตาม บางพื้นท่ีพบว่ามีการนําองค์ประกอบ ประดับอาคารที่มีรูปแบบสมัยที่อยู่ก่อนหน้านี้ไปใช้ในการก่อสร้างศาสนสถาน ประจําอโรคยาศาล เช่น ทับหลังสมัยบาปวนที่พบบริเวณปราสาทสระกําแพง น้อย จ.ศรีสะเกษ หรือนาคมุมศิลปะบาปวนประดับอยู่บริเวณเรือนธาตุตัว ปราสาทที่ปราสาทช่างปี่ จ.สุรินทร์และกุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นต้น สันนิษฐานว่าองค์ประกอบดังกล่าวอาจถูกเคลื่อนย้ายมาจากพื้นที่ ปราสาทใกล้เคียงโดยรอบที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว แล้วนํามาติดต้ังใหม่ที่ ศาสนสถานประจําอโรคยาศาลนั้น เพ่ือเป็นการประหยัดเวลาและความ สะดวกในการสร้าง ดังนั้นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของศาสนสถานประจําอโรคยาศาล ที่ในจารึกประจาอโรคยาศาลระบ ํ ุคําว่า สุคตาลัย ท่ีแปลว่า ศาสนสถาน จึง ออกแบบให้มีความสัมพันธ์เชิงความคิดที่เกี่ยวข้องกับการบูชาเทพที่เกี่ยวข้อง ในการรักษาพยาบาล โดยจะประกอบไปด้วยปราสาทประธานอันเป็นที่ ประดิษฐานพระไภษัชยคุรุและพระชิโนรสท้ังสอง มีบรรณาลัยต้ังอยู่ทางด้าน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน ประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และเทพชั้นรองพระยมทรงกระบือ พระวัชรปาณีทรงครุฑ กําแพง แก้วล้อมรอบอาคารทั้งสอง โคปุระหรือทางเข้าเพียงแห่งเดียวทางด้านทิศ ตะวันออก แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ห้อง ห้องโถงกลางมีขนาดใหญ่ที่สุดใช้เป็นที่ ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับยืน และใช้เป็นทางเข้าออกเชื่อม สู่พื้นที่ภายใน ในส่วนห้องโถงอีก 2 ห้องภายในโคปุระนั้นจะมีลักษณะเป็น ห้องเล็กๆ ใช้เป็นที่ประดิษฐานเทพชั้นรองต่างๆ ในส่วนพ้ืนท่ีรักษาพยาบาลนั้นพบว่า มีจํานวนเจ้าหน้าที่ประจํา โรงพยาบาลที่แตกต่างกันตามขนาดของโรงพยาบาล จากจารึกที่เกี่ยวข้องกับ อโรคยาศาลที่พบประมาณ 14 แห่ง ระบุจํานวนของเจ้าหน้าที่ไม่เท่ากัน เช่น จํานวน 98 คน พบท่ีกุฏิฤาษีเมืองพิมาย ที่ถือว่ามีจํานวนเจ้าหน้าที่ท่ีมาก เทียบเท่ากับที่เมืองพระนครหลวง และจํานวนเจ้าหน้าที่ 50 คน ระบุไว้ที่ จารึกปราสาท ตาเหมือนโต๊จ จังหวัดสุรินทร์ซึ่งถือว่ามีขนาดไม่ใหญ่นัก 10 จึงสันนิษฐานได้ว่าจํานวนเจ้าหน้าที่ในอโรคยาศาลนั้นจะแปรผันไปตาม ขนาดของโรงพยาบาลที่ไม่เท่ากันและตามขอบเขตให้บริการในแต่ชุมชน 11 นอกจากนี้อโรคยาศาลยังเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชนใกล้เคียง โดยเป็น 56 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 สถานที่รับบริจาคสิ่งของและยา โดยผ่านการถวายแด่พระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุ ภายในศาสนสถาน และพระเจ้าชัยวรมันท่ี 7 ก็ได้พระราชทานสิ่งของต่างๆ ที่จําเป็นต่อการดํารงอยู่ของอโรคยาศาล เช่น ข้าวสาร เดือนละ 1,000 ตัน สมุนไพรรักษาโรคและสิ่งของต่างๆ ที่จําเป็น 36 รายการ ปีละ 3 คร้ัง เป็นต้น 12 ส่วนอาคารรักษาพยาบาลอื่นๆ เช่น เรือนนอน บ้านพักเจ้าหน้าที่ใน โรงพยาบาล เรือนปรุง และเรือนเก็บยา ส่วนที่รักษาพยาบาลสันนิษฐานว่า ตั้งไว้ด้านนอกศาสนสถาน เป็นอาคารที่สร้างขึ้นด้วยโครงสร้างไม้จึงไม่ปรากฏ หลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าสระน้ําศักดิ์สิทธิ์ประจํา อโรคยาศาลถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ส่วนรักษาพยาบาล ตําแหน่งที่ตั้งจะอยู่บริเวณ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของศาสนสถานประจําอโรคยาศาล พบว่าเป็นบ่อน้ํา ที่มีการกรุขอบบ่อด้วยศิลาแลง โดยแต่ละแห่งจะมีขนาดและความลึกของบ่อ ที่แตกต่างกันออกไป จากบันทึกโจวต้ากวาน ชาวจีนที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ วิถีชีวิตของชาวขอมในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ 19 ได้กล่าวถึงการรักษาโรค ด้วยน้ําศักด์ิสิทธิ์นี้ว่า “คนในประเทศทั่วไปมีโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนมากจะลงไป อาบแช่ในน้ําและสระหัวบ่อยครั้งเข้าก็จะหายไปเอง แม้กระนั้นก็ยังมีคนที่เป็น โรคเร้ือนเป็นอันมาก เรียงรายอยู่ท่ัวไปตามถนนหนทาง ชาวพื้นเมืองแม้จะ กินจะนอนด้วยกับพวกเหล่านั้น เขาก็มิได้ถือเอาเป็นเรื่องเป็นราว มีผู้กล่าวว่า ภูมิอากาศของเขาทําให้เกิดโรคนี้ขึ้น เคยมีพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นโรคนี้ฉะนั้น ผู้คนจึงไม่ตั้งข้อรังเกียจแต่อย่างใด ตามความเห็นอันต่ําต้อยของข้าพเจ้านั้น ก็เห็นว่า เนื่องมาจากบุคคลเหล่านั้นเมื่อประกอบกามกรีฑาแล้วก็ด่วนลงไป อาบน้ําชําระร่างกาย ในทันทีทันใดจึงเป็นโรคนี้กันขึ้น ข้าพเจ้าได้ยินมาว่าชาว พื้นเมืองนั้นพอเสพเมถุนเสร็จก็ลงไปอาบน้ําชาระกายด ํ ้วยกันทั้งนั้น ผู้ที่เป็น โรคบิดมักจะตายเสีย 8 ถึง 9 ใน 10 คน” 13 จากบันทึกดังกล่าวทําให้ทราบว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 นั้นการรักษาโรคบางประเภทมักจะลงไปแช่น้ํารวม ในบ่อน้ํา ความเชื่อดังกล่าวอาจได้รับอิทธิพลมาจากสระน้ําร้อน “ตโปทา” ใน ประเทศอินเดียที่ตั้งอยู่ใกล้กับวัดเวฬุวันที่เป็นสายน้ําแร่ที่ไหลมาจากเวภารบรรพต เชื่อว่าเป็นบ่อน้ําศักดิ์สิทธิ์ของท่านชีวกโกมารภัจจ์แพทย์ประจําองค์ ของพระพุทธเจ้า ผู้ใดที่เจ็บป่วยจะพากันมาอาบน้ําศักดิ์สิทธิ์รักษาโรค มี ซ้าย : แท่งหินบดยาพบ ระหว่างขุดแต่งปราสาท ช่างปี่ ที่มา : ห้างหุ้นส่วนจํากัด ปุราณรักษ์ ขวา : กระเบื้องดินเผาพบ ระหว่างขุดแต่งปราสาทขอม พันนา ที่มา : กรมศิลปากร หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 57 พราหมณ์เป็นผู้ดูแล โดยจะแบ่งพื้นที่บริเวณอาบน้ําออกเป็นระดับชั้นต่างๆ ลดหล่ันกันไปตามฐานะในสังคมหรือตามวรรณะต่างๆ ต้นน้ําจะเป็นผู้คน ชั้นสูง น้ําจะไหลจากท่อส่งต่อไปยังช้ันต่อๆ ไปของคนระดับต่ําลงไป14 นอกจากนี้การรักษาพยาบาลด้วยวิธีแผนโบราณจําเป็นต้องมีการใช้น้ําเป็น ส่วนประกอบที่สําคัญ เช่น การบดยา การใช้น้ําในการต้มยาต่างๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้ว่าสระน้ําศักด์ิสิทธิ์จะมีการออกแบบเป็นขั้นบันไดโดยรอบ จึง เหมาะแก่การลงไปแช่และนําน้ํามาใช้ในการรักษาพยาบาลได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้พ้ืนท่ีตั้งของบ่อน้ําศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละพื้นท่ีมักจะหาตําแหน่งพื้นท่ีที่ เป็นตาน้ํา เมื่อขุดเจาะลงไปจะมีน้ําผุดขึ้นมาโดยตลอด จึงเชื่อกันว่าน้ําดังกล่าว เป็นน้ําที่บริสุทธิ์ที่สามารถนํามาใช้ในการรักษาโรคต่างๆได้ ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนสถานประจําอโรคยาศาลกับการใช้ พื้นที่ในช่วงเวลาคาบเกี่ยว (พุทธศตวรรษที่ 21-24) ภายหลังพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคตลงราว พ.ศ. 1762 ทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงภายในราชอาณาจักรขอมเป็นอย่างมาก พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ขึ้นครองราชย์ต่อและยังสืบเนื่องการนับถือพุทธศาสนาแบบมหายานต่อเนื่อง มาจากรัชสมัยของพระบิดา พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ครองราชย์มาเป็นเวลา 24 ปีสันนิษฐานได้ว่าช่วงเวลานี้กิจการของอโรคยาศาลยังคงได้รับการสืบต่อ จากพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ในช่วงแรก ต่อมาภายหลังเริ่มมีปัญหาทาง การเมืองภายในราชสํานัก ความเข้มแข็งของราชอาณาจักรที่มีมาในรัชกาล ก่อนค่อยเสื่อมลงเรื่อยๆ การอุปถัมภ์สมุนไพร ยาต่างๆ ที่ส่งไปยังอโรคยาศาล ต่างๆ เริ่มไม่ทั่วถึง จนกระทั่งราชสํานักไม่สามารถส่งสิ่งของต่างๆ ไปยัง อโรคยาศาลในแต่ละแห่งได้ดังเดิม แต่กิจการดําเนินการของอโรคยาศาลใน พื้นท่ีต่างๆ ที่ห่างไกล เช่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ยังคงไม่ได้รับผลกระทบทางตรงเท่าที่ควร เนื่องจากอุปกรณ์และสมุนไพร ยา ต่างๆ ยังคงมีเหลืออยู่พอที่จะดําเนินกิจการของอโรคยาศาลได้ต่อเนื่องไปอีก ระยะเวลาหน่ึง ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระราชนัดดาพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อ พระองค์ทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพราหมณ์เป็น ซ้าย : สระน้ําศักดิ์สิทธิ์ที่ ปราสาทขอมพันนา ขวา : สระน้ําศักดิ์สิทธิ์ที่ กู่ธวัชบุรี 58 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 ศาสนาหลักประจําราชสํานักอีกครั้ง เนื่องจากอิทธิพลของพราหมณ์ในราชสานํ ัก มีมากขึ้น รวมถึงพยายามที่จะเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ราชอาณาจักร อีกคร้ัง พบว่าภายในเมืองพระนครมีการทุบทําลายพระพุทธรูปภายในศาสนสถานที่สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เสียจนเกือบหมดสิ้น บ้างก็กะเทาะ ให้พระพุทธรูปกลายเป็นศิวลึงค์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าภายหลัง สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 อาณาจักรขอมเร่ิมเสื่อมลงเป็นระยะ เนื่องจาก ปัญหาภายในราชสํานักและจากภายนอก ช่วงเวลานี้คงไม่มีการสนับสนุน กิจการของอโรคยาศาลอีกแล้ว เน่ืองจากปัญหาต่างๆ ท่ีมากมาย รวมถึงการ เปลี่ยนแปลงมานับถือศาสนาพราหมณ์และการประกาศตนเป็นอิสระของ เมืองต่างๆ ในหลายพื้นท่ีจากอาณาจักรขอม ทําให้กิจการการดําเนินงานของ อโรคยาศาลนอกเขตเมืองพระนครคงต้องเลิกไปโดยปริยาย ในส่วนอโรคยา ศาลในพ้ืนที่เมืองพระนครสันนิษฐานว่ามีการดําเนินกิจการสืบต่อมาอีกไม่นาน พระเจ้าศรีนทรวรมันทรงขึ้นครองราชย์ต่อมาใน พ.ศ. 1838 ได้ตั้งราชวงศ์ใหม่ และเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท หนึ่งปีต่อจากนั้นโจวต้ากวานก็ ได้เดินทางเข้ามาในราชสํานักขอม และบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของเมืองพระนคร ไว้ใน พ.ศ. 1839 พบการบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับการรักษาโรคไว้พอประมาณ โดยเฉพาะเรื่องการแช่น้ํารักษาโรค จากบันทึกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการ รักษาภายในอโรคยาศาลยังปรากฏอยู่ในช่วงเวลานั้นในรัชกาลนี้เมื่อสิ้น รัชสมัยพระเจ้าศรีนทรวรมัน พระราชโอรสคือพระเจ้าศรีนทรชัยวรมันทรงขึ้น ขึ้นครองราชย์ต่อ พระองค์กลับไปนับถือศาสนาพราหมณ์อีกครั้ง ช่วงเวลานี้ได้ เกิดความเข้มแข็งทางการเมืองของอาณาจักรสยามขึ้นมาทางภาคตะวันตก ทําให้อาณาจักรขอมเกิดความถดถอยเป็นอย่างมาก การดําเนินการของ อโรคยาศาลทั้งหมดคงต้องยกเลิกในช่วงเวลาดังกล่าว ในรัชสมัยพระเจ้า ชัยวรรมปรเมศวร พระองค์ทรงไม่สามารถต้านทานการรุกรานของอาณาจักร สยามได้จึงได้ล่าถอยจากเมืองพระนครไปใน พ.ศ. 1974 ถือเป็นจุดส้ินสุด ของเมืองพระนครที่รุ่งเรืองมาเกือบ 5 ศตวรรษ 15 ส่วนอโรคยาศาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อหมดสถานะความเป็นโรงพยาบาล เพราะขาดการอุปถัมภ์จากทางการ สันนิษฐานว่าศาสนสถานประจําอโรคยาศาลยังคงทําหน้าที่เป็นศาสนสถาน ประจําชุมชนสืบต่อมา 16 บางชุมชนล่มสลายลงและตัวอโรคยาศาลบางแห่ง พังทลายลงเหลือเพียงกองซากศิลาแลง บางแห่งจมอยู่ภายในกองดินเป็น เวลายาวนาน เมื่อมีการอพยพการต้ังถิ่นฐานใหม่ราวพุทธศตวรรษท่ี 21-24 บทบาทหน้าที่ของอโรคยาศาลจึงเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมในช่วงเวลาดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมใหม่ของคนท่ีอพยพเข้ามาในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 21-24 นั้นทําให้มีการฟื้นฟูศาสนสถาน โดยเฉพาะปราสาทหินใน พื้นท่ีต่างๆ ให้กลับมามีชีวิตขึ้นอีกคร้ัง แต่เป็นการฟ้ืนที่อยู่ในกรอบของระบบ หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 59 ความเชื่อใหม่ โดยเฉพาะอโรคยาศาลที่เปล่ียนจากระบบความเช่ือเดิมคือ พุทธศาสนาแบบมหายานมาเป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาท เนื่องจากผู้คนท่ี อพยพมาใหม่นั้นมีประเพณีและความเชื่อที่เหมือนกัน คือไม่นิยมทําลายส่ิง ศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ ถึงแม้ว่าศาสนสถานหรือโบราณสถานน้ันจะสร้างขึ้นโดย ระบบความเช่ือศาสนาอื่นก็ตาม ในทางตรงกันข้ามกลับเช่ือว่าศาสนสถาน เหล่าน้ันเป็นสถานที่ศักด์ิสิทธ์ิจึงฟื้นฟูให้มีการสืบเน่ือง โดยปรับให้เข้ากับ ระบบความเช่ือใหม่ที่พวกตนนับถืออยู่ ด้วยเหตุนี้การปรับเปลี่ยนการใช้งาน จากปราสาทที่เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูหรือพุทธสถานแบบมหายานจึง เปลี่ยนสถานะมาเป็นพุทธสถานแบบเถรวาทที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย17 ศาสนสถานประจําอโรคยาศาลก็ตกอยู่ ในสถานการณ์นี้เช่นเดียวกัน การซ่อมแซมหรือต่อเติมที่เกิดขึ้นจึงเปรียบ เสมือนเป็นการฟื้นความสําคัญของตัวศาสนสถานให้กลับมามีสถานะของการ ใช้งานขึ้นอีกคร้ัง เช่น มีการสร้างอาคารครอบทับตัวปราสาทประธาน ที่กู่ คันธนาม จ.ร้อยเอ็ด ในช่วงเวลานี้ศาสนสถานประจําอโรคยาศาลบางแห่งมี การเปลี่ยนสรรพนามคํานําหน้าการเรียกช่ือใหม่ เช่น เรียกว่า กู่ ธาตุ ปรางค์ นําหน้า และต่อด้วยบ้านชื่อนามเมือง เช่น ปรางค์กู่บ้านเขวา จ. มหาสารคาม ปรางค์กู่ธวัชบุรีจ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงการยอมรับในฐานะสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์จากกลุ่มชนใหม่ที่เข้ามาในพ้ืนที่ พบว่าบางแห่งก็มีการประดิษฐาน พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ไว้ภายในเพื่อให้เป็นที่กราบไหว้ของคนในชุมชน นั้นๆ รวมถึงมีการสร้างตํานานท้องถ่ินเพ่ือผูกโยงการสร้างเรื่องราวของ กลุ่มชนท่ีเข้ามาอยู่ใหม่ ให้ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความรู้สึกเป็นส่วนหน่ึงของบริบท พื้นท่ีที่มีมาแต่เดิม ตํานานต่างๆ ท่ีปรากฏมักจะเช่ือมโยงเกี่ยวกับประวัติการ บน : อาคารกุฏิที่สร้างครอบ ทับปราสาทที่กู่คันธนาม ปัจจุบันอาคารนี้ได้รื้อออก แล้ว ขวา : ปรางค์กู่ธวัชบุรี ภายในวัดศรีรัตนาราม จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มา : กรมศิลปากร 60 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 สร้างศาสนสถานประจําอโรคยาศาลในแต่ละแห่ง โดยไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์กับ ข้อมูลในจารึกทางประวัติศาสตร์เท่าท่ีควร เช่น ตํานานผู้หญิงผู้ชายสร้าง ปราสาทแข่งกัน มักจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าในพื้นท่ีหรือชุมชนน้ันๆ มีปราสาท หินตั้งอยู่มากกว่า 1 แห่ง พบในหลายพื้นท่ีเช่น ปรางค์กู่บ้านเขวา กู่สันตรัตน์ จ.มหาสารคาม และปรางค์กู่ธวัชบุรีจ.ร้อยเอ็ด ตํานานท้าวคันธนามเป็นอีก หนึ่งตํานานพ้ืนบ้านที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับความเชื่อของพ้ืนที่เข้ากับนิบาตนอก ชาดกท่ีกู่คันธนาม จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น การที่ผู้คนได้ย้ายหรืออพยพเข้ามาในพ้ืนที่ใหม่ หรือเริ่มเข้ามาตั้ง หมู่บ้านในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 21-24 ผู้คนส่วนใหญ่จะต้ังบ้านที่พักอาศัยอยู่ ในพื้นที่ห่างจากตัวศาสนสถานที่มักจะต้ังอยู่ในพื้นที่โนน เพราะมีความเชื่อ เกี่ยวกับความหวาดกลัวต่อสิ่งเหนือธรรมชาติภูติผีปีศาจ หรือเทพเจ้าที่ สิงสถิตอยู่ในตัวศาสนสถานน้ัน 18 บ้างก็มีการสร้างตํานานต่างๆ รวมถึง เชื่อมโยงให้พ้ืนที่ศาสนสถานเป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษแทน เพื่อให้คนใน ชุมชนมีความเคารพยําเกรงต่อสิ่งศักด์ิสิทธ์ิเนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มี มาแต่โบราณ พบว่าส่วนใหญ่พื้นท่ีศาสนสถานประจําอโรคยาศาลที่เหลืออยู่ และบริเวณใกล้เคียงมักจะมีการตั้งเป็นวัด สํานักสงฆ์หรือมีการตั้งศาลผีปู่ตา เพื่อดูแลพื้นที่และแทนการใช้พื้นท่ีเพื่ออยู่อาศัยหรือใช้พื้นท่ีเพื่อการเกษตร ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนสถานประจําอโรคยาศาลกับการใช้ พื้นที่ในปัจจุบัน เมื่อบทบาทหน้าที่ของอโรคยาศาลเริ่มเปล่ียนไป จากศาสนสถานประจํา โรงพยาบาลกลายเป็นส่วนหนึ่งของพุทธสถานในวัฒนธรรมล้านช้าง หรือศาล พระพุทธรูปภายในปราสาท ปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ ซ้าย : พระพุทธรูปภายใน ปราสาทประธาน กู่ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ขวา : รูปปั้นท้าวคันธนาม ตํานานที่เชื่อมโยงกับชื่อ ศาสนสถานกู่คันธนาม จังหวัดร้อยเอ็ด หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 61 ผีบรรพบุรุษที่มีการฟื้นฟูปรับเปลี่ยนบริบทพ้ืนที่เดิมเพ่ือให้เข้ากับระบบความ เชื่อใหม่ท่ีตนเองนับถืออยู่ แต่ก็ยังคงบทบาทหน้าที่เป็นส่ิงศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันอโรคยาศาลหลายแห่งมีการอนุรักษ์ในส่วนกายภาพพื้นท่ี แล้วเสร็จ มีการเสริมโครงสร้างตัวโบราณสถานให้แข็งแรงและบูรณปฏิสังขรณ์ อย่างสมบูรณ์ จากการสํารวจพื้นท่ีภาคสนามพบว่า ปรากฏเหลือแต่เพียง ศาสนสถานประจําอโรคยาศาลเท่าน้ัน เนื่องจากใช้วัสดุในการสร้างที่คงทน กว่าโรงเรือนส่วนรักษาพยาบาล พบว่ามีลักษณะของการใช้พื้นที่ในปัจจุบันท้ังภายนอกและภายในท่ี แตกต่างกัน บางแห่งยังคงประโยชน์ให้เป็นสถานที่ศักด์ิสิทธ์ิประจําชุมชน แต่มี การปรับเปลี่ยนให้เข้าระบบความเช่ือใหม่ มีการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหม่เข้า ไปประดิษฐานไว้ภายในปราสาทประธานแทนรูปเคารพด้ังเดิมที่สูญหายหรือ นําไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พบว่าในอดีตศาสนสถานประจํา อโรคยาศาลบางแห่งยังมีการใช้พื้นที่แบบผิดประเภท เช่น มีการทรงเจ้า ดูหมอ ผูกดวงชะตาในพื้นท่ีภายในปราสาทประธาน แต่กิจกรรมดังกล่าวบาง แห่งได้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากผิดกฏหมายโบราณสถาน บางแห่งก็ถูกควบคุม ด้วยมติชุมชนจึงทําให้การใช้พ้ืนที่แบบผิดประเภทไม่ค่อยปรากฏให้เห็น เท่าที่ควรในปัจจุบัน มีการริเร่ิมการประกอบพิธีกรรมภายในศาสนสถานประจําอโรคยาศาลในช่วงวันสาคํ ัญ และปรับใช้ให้เข้ากับรูปแบบประเพณีท่ีกําหนดขึ้นใหม่ ตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน เป็นกิจกรรมด้านระบบความเชื่อ ความศรัทธา ต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ิในชุมชนท่ีจัดขึ้นเป็นประจําทุกปี มีการจัดกิจกรรมภายใน ปราสาทประธานหรือพ้ืนที่หน้าโคปุระ บางแห่งมีการนํารูปเคารพโบราณกลับ เข้ามาประดิษฐานในพื้นที่เดิมเพื่อประกอบพิธีบวงสรวง สรงน้ําหรือสักการะ เป็นต้น รวมถึงจะมีการจัดกิจกรรมนันทนาการโดยรอบพ้ืนที่ใกล้เคียงท่ีแสดง ถึงการเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรม ปรับเปลี่ยนจากระบบความเช่ือเดิมสู่ระบบความ เชื่อใหม่ในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มกรณีศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม อีสานเหนือ อีสานกลาง และกลุ่มอีสานใต้มีการใช้พื้นที่ที่ต่างกันในแต่ละ ช่วงเวลา เหตุมาจากความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ท่ีหลากหลาก พื้นที่กลุ่ม อีสานเหนือและอีสานกลาง กลุ่มชาติพันธ์ุส่วนใหญ่เป็นชาวไทย-ลาว ที่มีการ นับถือศาสนาพุทธเถรวาทและมีการนับถือผีบรรพบุรุษควบคู่กัน ตัวศาสนสถานประจําอโรคยาศาลจึงถูกเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ เช่น มีการนํา พระพุทธรูปเข้าไปประดิษฐานภายในปราสาทประธาน สร้างคติความเช่ือ เกี่ยวกับผีบรรพบุรุษในพื้นท่ีจึงมีความเคร่งในเร่ืองประเพณีบุญสิบสองเดือนที่ ปฏิบัติกันมาช้านาน ประเพณีสรงกู่จึงถูกกําหนดขึ้นในช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับ งานบุญสิบสองเดือน โดยถือเอาวันขึ้น 15 ค่ํา เดือน 5 ของทุกปีเป็นวันที่ใช้ 62 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 ประกอบพิธีกรรม คือบุญเดือนห้า บุญสรงนา้ํ ยกเว้นท่ีปราสาทขอมพันนา ที่ จังหวัดสกลนครเพียงแห่งเดียว ที่จะจัดงานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในช่วงบุญข้าวจี่ บุญเดือนสาม ที่ถือเป็นหนึ่งในประเพณีสิบ สองเดือนของชาวไทย-ลาว ในส่วนพ้ืนที่อีสานใต้จากการลงสํารวจภาคสนาม พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากกลุ่มเขมร ความเชื่อต่างๆ มี ความแตกต่างไปจากกลุ่มชาติพันธ์ุไทย-ลาว แม้ว่าจะนับถือศาสนาพุทธ เหมือนกัน พบว่ามีการนํารูปเคารพต่างๆ ท้ังเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หรือ พระพุทธรูปเข้าไปไว้ภายในปราสาทประธาน และมักมีการประกอบพิธีกรรม ต่างๆ ภายใน เน้นด้านไสยศาสตร์ความเชื่อเหนือธรรมชาติแต่ภายหลังการ บูรณะ การประกอบพิธีกรรมต่างๆ จึงถูกยกเลิกไป นอกจากนี้กลุ่มอีสานใต้ เป็นพื้นท่ีที่ได้รับวัฒนธรรมขอมโดยตรง มีการสืบเน่ืองมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษท่ี 12-18 มีการสร้างปราสาทน้อยใหญ่ขึ้นในพื้นที่มากมาย การจัด กิจกรรมภายในพื้นที่ศาสนสถานประจําอโรคยาศาล เช่น พิธีสรงกู่จึงไม่ค่อย ปรากฏมากนัก เนื่องจากศาสนาสถานประจาอโรคยาศาลเป ํ ็นศาสนสถานที่มี ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับปราสาทชุมชนในพื้นท่ีใกล้เคียง ประชาชนจึงหันไปจัด กิจกรรมในปราสาทหลักท่ีใหญ่กว่า จะมีบ้างท่ีมีการจัดประเพณีภายในศาสนสถานประจําอโรคยาศาล เนื่องจากพื้นท่ีใกล้เคียงไม่มีปราสาทที่มีขนาดใหญ่ กว่า การจัดงานไม่ได้กําหนดเวลาตามจันทรคติเช่นเขตพื้นที่อีสานกลาง และเหนือ แต่มักจะกําหนดวันเวลาตามปฏิทินสากล เช่น ท่ีปราสาทช่างป่ี จ.สุรินทร์จะมีการจัดงานสืบสานตํานานปราสาทช่างปี่เป็นประจําทุกปีใน วันท่ี 1-3 เมษายน จะมีการนาโบราณว ํ ัตถุที่พบในการขุดแต่งปราสาทมาวาง ในพื้นที่โต๊ะหมู่บูชาท่ีต้ังขึ้นบริเวณหน้าปราสาทเพื่อการบวงสรวง ปราสาท สระกําแพงน้อย จ.ศรีสะเกษ พบว่าเคยมีการจัดการสรงกู่แต่ได้มีการยกเลิกไป เนื่องจากตัวปราสาทตั้งใกล้กับปราสาทสระกําแพงใหญ่ การจัดงานจึงย้ายไป ในพื้นที่ปราสาทใหญ่แทน กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง จ.บุรีรัมย์ก็เป็นอีกหนึ่งใน ศาสนสถานประจําอโรคยาศาลในพื้นท่ีกลุ่มอีสานใต้ที่ไม่ปรากฏการจัดงานใดๆ ซ้าย : นักเรียนโรงเรียน กู่สันตรัตน์เข้าร่วมแต่งตัว เป็นทหารพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ขวา : พราหมณ์ประกอบพิธี บวงสรวงกู่ประภาชัย จังหวัด ขอนแก่น หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 63 แต่มีการจัดการงานที่ปราสาทเมืองต่ํา ท่ีเป็นปราสาทหลักที่ใกล้เคียงแทน เป็นต้น ตัวอย่างกรณีศึกษาที่กู่สันตรัตน์จ.มหาสารคาม ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กลุ่ม อีสานกลางชาวบ้านเช่ือว่า ในพื้นท่ีกู่สันตรัตน์น้ันเป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษคือ ปู่เจ้าโฮงแดง เป็นผีที่มีอํานาจมาก สามารถดลบัลดาลให้ฝนฟ้าตกต้อง ตามฤดูกาล ปกป้องลูกหลานให้พ้นภัยต่างๆ หากบนบานสานกล่าวใดๆ ก็จะ ได้พรสมหวังทุกประการ แสดงให้เห็นถึงความยําเกรงต่ออํานาจเหนือ ธรรมชาติโดยผ่านโบราณสถานของชุมชน ถือเป็นหนึ่งในกลไกที่ทําให้เกิด การควบคุมจารีตของคนในหมู่บ้านและการจัดการทรัพยากรในชุมชน เห็นถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับพื้นที่ 19 พิธีสรงกู่จึงเริ่มต้นจากความเล่ือมใส ศรัทธา ทําให้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน มีความเชื่อว่าถ้าได้ร่วมทําพิธี จะส่งผลให้มีความสุขและประสบผลสําเร็จในชีวิต ผู้เข้าร่วมพิธีจะประกอบไป ด้วยประชาชนบางส่วนของอําเภอต่างๆ โดยรอบ ประชาชนที่มาร่วมในพิธีต่าง ก็ขอพรให้กับตัวเอง ครอบครัว และหมู่บ้าน พร้อมท้ังนําน้ําอบ น้ําหอม, ธงชัย มากน้อยแล้วแต่ศรัทธา ดอกข้าว ต้นดอกเงิน มอบให้จ้ําบ้านเพื่อนําสิ่งของ ดังกล่าวไปร่วมพิธีบวงสรวง โดยวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อขอให้ฟ้าฝนตกตาม ฤดูกาล มีน้ําใช้ในการบริโภคและประกอบอาชีพ ทําการเกษตร เพื่อขอให้สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ท้ังหลายที่สิงสถิตอยู่ ณ ที่กู่สันตรัตน์จงช่วยดลบันดาลให้ตนเอง ครอบครัวหมู่บ้านมีสุขภาพแข็งแรง และดําเนินชีวิตอยู่อย่างมีสุข อย่าเป็นโรค ร้าย เพื่อให้สัตว์เลี้ยงทุกชนิดไม่เป็นโรคร้าย โรคห่า ในทางตรงกันข้ามถ้าหาก ประชาชนท่ีให้ความเคารพ ศรัทธา เชื่อถือ หมู่บ้านใดไม่ได้มาร่วมในพิธีก็มี ความเชื่อว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และหมู่บ้าน ของตนเอง 20 บน : พระไภษัชยคุรุที่นํา กลับมาประดิษฐานให้ ประชาชนได้ทําการสรงน้ํา ในวันสรงกู่บ้านเขวา จังหวัด มหาสารคาม ขวา : โต๊ะหมู่บูชาในวันสรง กู่ธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด 64 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 จากการเข้าร่วมสังเกตการณ์ลงพื้นที่ภาคสนามในช่วงประเพณีสรงกู่ ในหลายพื้นที่พบว่า มีกิจกรรมในส่วนรายละเอียดอื่นๆ ปลีกย่อยท่ีแตกต่างกัน เช่น บางแห่งจะมีการนํารูปเคารพเดิมที่เคยพบในพื้นที่นํากลับมาตั้งไว้ภายใน ปราสาทเพ่ือทาการสรงเฉพาะว ํ ันสรงกู่ เช่น ที่ปรางค์กู่บ้านเขวา กู่สันตรัตน์ จ.มหาสารคาม, ปราสาทช่างปี่ จ.สุรินทร์และกู่คันธนาม จ.ร้อยเอ็ด (ปัจจุบัน รูปเคารพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรท่ีพบที่กู่คันธนามหายไป จึงไม่ได้มีการนาํ กลับไปไว้ท่ีปราสาทในวันสรงกู่) บางแห่งจะมีการสรงน้ําพระพุทธรูปภายใน ปราสาทและสรงน้ําท่ีตัวปราสาทโดยตรง เช่น ที่ปรางค์กู่ธวัชบุรีกู่คันธนาม จ.ร้อยเอ็ด, ปรางค์กู่ จ.ชัยภูมิ, กู่บ้านแท่น จ.ชัยภูมิและกู่ประภาชัย จ.ขอนแก่น เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่มีความเชื่อใกล้เคียงกัน คือเร่ืองการขอให้ ฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มจะมีการทํานา และขอให้ครอบครัว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ การริเริ่มประเพณีสรงกู่หรือบวงสรวงกู่ วัตถุประสงค์แรกเริ่มเกิดขึ้น เพื่อการบวงสรวงแด่เทพ เทวดา ผีปู่ตา ท่ีสิ่งสถิตอยู่ภายในปราสาทที่เชื่อว่า จะดลบัลดาลให้เกิดปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติให้แก่ผู้มาเข้าร่วม รวมถึงเป็น การขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชุมชน เพ่ือให้เกิดการเริ่มต้นที่ดีในฤดูกาลเพาะปลูก ที่จะเริ่มขึ้น เป็นการผสมผสานความเชื่อเข้ากับวิถีการเกษตร ต่อมาเมื่อเวลา ผ่านไปประเพณีสรงกู่ได้มีการเพิ่มเติมกิจกรรมในส่วนนันทนาการเพิ่มขึ้น จาก แต่เดิมมีแต่กิจกรรมด้านความเชื่อ พบว่ามีผู้เข้าร่วมงานที่เป็นเยาวชนมากขึ้น แต่กิจกรรมนันทนาการบางส่วนยังขาดการคัดกรอง และขาดการจัดการการ บนซ้าย : พิธีบวงสรวง ปราสาทช่างปี่ จังหวัด สุรินทร์งานใหญ่ระดับ จังหวัดที่มีการจัดกิจกรรม มากมาย บนขวา : พิธีสรงกู่บ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิงานระดับ ชุมชนที่มีกิจกรรมที่ค่อนข้าง เรียบง่าย ล่างซ้าย : นักเรียนรําถวาย หน้าปราสาทวันบวงสรวง กู่สันตรัตน์จังหวัด มหาสารคาม ล่างขวา : การจัดกิจกรรม ช่วงค่ําที่ปรางค์กู่ จังหวัด ชัยภูมิ หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 65 ใช้พ้ืนที่ที่เหมาะสม เช่น การตั้งเวทีดนตรีใกล้ตัวปราสาท หรือมีการจุดบั้งไฟ ในพื้นที่ใกล้ปราสาท เป็นต้น กิจกรรมนันทนาการส่วนใหญ่ประกอบด้วย การประกวดบั้งไฟ จุดบ้ังไฟเสี่ยงทาย มีเวทีดนตรีรําวงย้อนยุค การออกร้าน ต่างๆ การจัดงานส่วนใหญ่เจ้าภาพหลักจะเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ร่วมมือกับภาครัฐ โรงเรียน และชุมชน โดยเน้นให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมใน กิจกรรม เช่น มีการฝึกซ้อมให้นักเรียนในโรงเรียนรําบวงสรวงถวายแด่เทพเจ้า ในวันงาน มีการแสดงการละเล่นต่างๆ เข้าร่วมขบวนแห่ รวมถึงกิจกรรมการ แสดงแสงสีเสียง กิจกรรมต่างๆ จะแปรผันไปตามขนาดของงาน บางแห่งมี การจัดงานใหญ่โตในระดับจังหวัด มีการเชิญนักการเมืองระดับชาติผู้ว่า ราชการจังหวัดมาเป็นประธาน เพ่ือเป็นการโปรโมทการท่องเที่ยว มีการจัด งานแสงสีเสียง และกิจกรรมนันทนาการมากมาย ส่วนใหญ่มีการจัดกิจกรรม มากกว่า 1 วัน จากการสํารวจภาคสนาม ในบางพื้นท่ียังมีกิจกรรมที่มีขนาดไม่ใหญ่ มากนัก เน้นความเรียบง่าย เป็นกิจกรรมด้านความเชื่อเป็นหลัก ขนาดของ งานจัดอยู่ในระดับชุมชน กลุ่มเป้าหมายเน้นกลุ่มประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก เจ้าภาพของงานจะเป็นผู้บริหารส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในกลุ่มนี้จะมีการจัด งานเพียงแค่วันเดียวเท่าน้ัน อย่างไรก็ตามพบว่าในการจัดงานในแต่ละปีขนาด ของงานในพื้นที่เดียวกันอาจมีขนาดของงานและกิจกรรมที่ไม่เท่ากัน บางปีมี การจัดงานใหญ่โตหลายวัน บางปีมีการจัดงานเพียงแค่วันเดียว เนื่องจาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายๆ ด้าน เช่น ปัจจัยทางด้านงบประมาณในแต่ละปีท่ีมี ความแตกต่างกัน ปัจจัยด้านความเข้มแข็งทางการเมืองของนักการเมือง ท้องถิ่น เป็นต้น

ความคิดเห็น

  1. ดร. สมัย เหมมั่น ประธารบริหารโครงการ
    นาย วินิช ชัชวาลย์ ที่ปรึกษาโครงการด้านเทคนิค
    นาย ชัยวุฒิ แสงมณี ที่ปรึกษาโครงการด้านการเงิน
    นาย ชิตโชค สิงหรา ที่ปรึกษาโครงการด้านกฎหมาย
    สมาคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนองเสือ ที่ปรึกษาปรัชญา
    D – HOUSE GROUP กลุ่มนักวิจัยและแผนธุรกิจโครงการ
    บริษัท ไทยเพิ่มสุข จำกัด บริหารโครงการ
    บริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด บริหารการก่อสร้าง
    บริษัท ไทยซีเนียร์คอมเพล็กซ์ จำกัด บริหารงานก่อสร้าง
    บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด บริหารงานนิติบุคคล
    และคณะ บริหารร่วมทุนโครงการ
    1.พลโท สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน ประธานบริหาร ฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ร่วมค้าไทย+จีน
    2.นาย อัครพงษ์ วงศ์จินดาโชติ ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์ 3.นส.ธัญญาภัทร์ ปัญญา รองประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์
    4.นาย มูซา สุนหลัก ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท กระบี่เพิ่มสุข กรุ๊ป จำกัด

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น