อโรคยาศาล เป็นศูนย์กลางของคนในชุมชม

บทสรุป รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอโรคยาศาลส่วนใหญ่จะมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน ตามมาตรฐาน แต่จะมีขนาดพื้นที่ท่ีแตกต่างกัน สิ่งที่พบเป็นถาวรวัตถุใน ปัจจุบันคือ ศาสนสถานประจาอโรคยาศาลท ํ ี่สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถาน ประดิษฐานรูปเคารพที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนามหายาน เป็นสถานท่ีที่หรือเป็นจุดเช่ือมต่อระหว่างเทพเจ้า (บนสวรรค์) กับ มนุษย์ (โลก) ศาสนสถานประจําโรงพยาบาลเป็นสถานที่ท่ีมีคนมากราบไหว้ขอพร รูปเคารพที่ประดิษฐานอยู่ภายใน ทั้งขอพรให้หายจากอาการป่วยไข้ขอพรให้ คนเกิด หรือขอพรให้คนตาย เปรียบเสมือนแหล่งที่รักษาความป่วยทางจิตใจ ของมนุษย์ การวิงวอนขอพรจากเทพเจ้าเพื่อบําบัดทางด้านจิตใจเพื่อให้ ปราศจากโรคล้วนเป็นกุศโลบายที่ยังปรากฏให้เห็นสืบมาจนถึงในปัจจุบันใน พื้นท่ีรักษาพยาบาลท่ัวไป ส่วนอาคารอื่นๆ เช่น เรือนนอน บ้านพักเจ้าหน้าที่ ในโรงพยาบาล เรือนปรุง และเรือนเก็บยา ส่วนที่รักษาพยาบาลสันนิษฐานว่า 66 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 พื้นท่ีดังกล่าวตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือนอกศาสนสถานประจาอโรคยาศาล ํ เป็น อาคารโครงสร้างไม้ท่ีมีพ้ืนที่ใช้สอยในส่วนรักษาพยาบาลเชื่อมต่อไปถึงสระน้ํา ศักดิ์สิทธิ์ประจาอโรคยาศาล ํ ภายหลังจากการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาใน พื้นท่ีตั้งช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-24 เป็นต้นมา ได้มีการนําวัฒนธรรมของตนที่ นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท และการนับถือผีเข้ามาสู่ในพื้นท่ีใหม่ท่ีอพยพ เข้ามา เมื่อพบว่าถิ่นฐานใหม่นั้นมีศาสนสถานที่เก่าแก่ต้ังอยู่เดิม คนส่วนใหญ่ก็ จะไม่มีใครกล้าที่จะเข้าไปทําลายหรือบุกรุกพื้นที่ พบว่าส่วนใหญ่พื้นดังกล่าว จะมีวัดมาตั้งต่อมา เน่ืองจากมีความเคารพต่อสิ่งศักด์ิสิทธ์ิที่สิงสถิตอยู่ในกู่ แม้ว่ากลุ่มคนใหม่ที่เข้าจะไม่ทราบถึงคติความเชื่อดังเดิมของกู่แต่เริ่มสร้างก็ ตามที เมื่อวัฒนธรรมเข้ามาจึงเกิดการบูรณาการผสมผสานวัฒนธรรมใหม่ เข้าไปสู่ตัวกู่เดิม พบว่ามีการสร้างตํานานให้สัมพันธ์กับพ้ืนที่ เช่น ตํานาน ผู้ชายผู้หญิงสร้างปราสาท รวมถึงตํานานของนิทานพ้ืนบ้านอีสาน หรือแม้ กระทั่งนิบาตนอกชาดก การสร้างตํานานนี้แสดงให้เห็นว่าคนท่ีอพยพมาใหม่ นั้นต้องการให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของบริบทพื้นท่ี ในกลุ่มพื้นที่อีสานเหนือ อีสานกลาง และกลุ่มพื้นท่ีอีสานใต้มีความ แตกแต่งกันในด้านการจัดกิจกรรม ประเพณี พบว่ากลุ่มอีสานเหนือ อีสาน กลาง จะมีความเคร่งครัดในการจัดประเพณีสรงกู่บวงสรวงกู่มากกว่ากลุ่ม อีสานใต้สาเหตุมาจากปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น ด้านความเชื่อท่ีมีรายละเอียด ที่แตกต่างกัน ด้านกายภาพโดยเฉพาะกลุ่มพื้นท่ีอีสานใต้เป็นพื้นที่ท่ีได้รับ วัฒนธรรมขอมโดยตรง มีจํานวนปราสาทท่ีสาคํ ัญมากในพื้นที่โดยรอบศาสนสถานประจําอโรคยาศาลเป็นศาสนสถานขนาดเล็กและอยู่ในสภาพทรุดโทรม ประชาชนจึงหันไปประกอบกิจกรรมในปราสาทหลักที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่า แทน แต่ทั้ง 2 กลุ่มยังปรากฏความเชื่อที่คล้ายกัน คือการนับถือผีที่เป็นความ เชื่อดั้งเดิมในการบูชาบรรพบุรุษของตน ปรากฏให้เห็นว่าได้มีการนําความเชื่อ ดังกล่าวเข้าไปอยู่ภายในตัวศาสนสถานประจําอโรคยาศาล เช่น มีการตั้งช่ือ เทวดาที่ปกปักษ์รักษากู่และชุมชนของตน พ่อปู่ที่เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของตน การนําความเชื่อผีเข้ามาในกู่น้ีสร้างความศรัทธาให้กับคนในพื้นท่ีเป็นจํานวน มาก ทําให้คนเกิดความยําเกรงเป็นท่ีพึ่งทางใจของคนในชุมชน รวมถึงทําให้ ศาสนสถานประจําอโรคยาศาลเป็นศูนย์กลางของคนในชุมชม โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเมื่อผนวกเข้าไปกับวัด ความสําคัญของศาสนสถานประจาอโรคยาศาลจ ํ ึง ไม่ใช่เพียงปราสาทที่เป็นเพียงเศษศิลาแลง เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง การใช้พื้นตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันพบว่า วัตถุประสงค์แต่เริ่มแรกสร้างขึ้นเพื่อ เป็นศาสนสถานประจําอโรคยาศาล มีเทพต่างๆ ประดิษฐานภายในเพ่ือให้พร แก่ผู้ที่เข้ามากราบไหว้และเป็นศูนย์กลางในการรักษาโรคทั้งทางกายและทาง จิตใจ เมื่อเวลาผ่านไปเกือบ 800 ปีศาสนสถานประจําอโรคยาศาลเปล่ียน บทบาทไป ไม่ใช่ศาสนสถานประจําโรงพยาบาลอีกต่อไป สถานพยาบาลไม่ หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 67 ปรากฏให้เห็น แต่ชุมชนยังคงให้บทบาทว่าเป็นสถานที่ศักด์ิสิทธิ์ของชุมชน สืบเนื่องต่อมา ความเชื่อเรื่องพระไภษัชยคุรุไม่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน มีเพียงตํานานต่างๆ ที่เล่าขานต่อเน่ืองกันมาเกี่ยวกับการสร้าง เปลี่ยนเป็น สถานที่สิงสถิตของพ่อปู่ผีบรรพบุรุษท่ีเข้ามาใช้พื้นที่ภายในแทน แต่ก็ยังพบว่า ในแต่ละท่ีจะมีผู้คนเดินทางเข้ามากราบไหว้ขอพรอยู่เป็นประจํา แสดงให้เห็น ถึงความสําคัญของพื้นท่ีที่ยังคงสถานะเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจจิตวิญญาณ ของคนในพื้นท่ีเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

ความคิดเห็น